หลังค่อม ไหล่ห่อ เป็นได้ก็หายได้ – ด้วย 5 ท่ากายภาพบำบัดง่าย ๆ

‘หลังค่อม ไหล่ห่อ’ หนึ่งในปัญหาที่คนไทยส่วนใหญ่ โดยเฉพาะกลุ่มคนวัยทำงาน มักพบเจอบ่อยไม่แพ้ออฟฟิศซินโดรม ปัญหาเหล่านี้ไม่ใช่แค่ส่งผลถึงบุคลิกภาพภายนอกดูไม่สง่างาม แต่ยังอาจมีปัญหาถึงสุขภาพร่างกายตามมา หากปล่อยทิ้งไว้อาจจำเป็นต้องลางานบ่อยไปหาคลินิกกายภาพบำบัดหรือถึงขั้นกลายเป็นปัญหาสุขภาพเรื้อรัง จะดีกว่าไหม หากเราสามารถลดโอกาสเกิดปัญหาจากหลังค่อม ไหล่ห่อได้ โดยเริ่มต้นทำความเข้าใจหลังค่อม ไหล่ห่อเกิดจากอะไร มีอาการอย่างไร และป้องกันด้วย 5 ท่ากายภาพบำบัดง่ายๆ ทำที่บ้านได้ในบทความนี้

 

หลังค่อม ไหล่ห่อ คืออะไร ?

หลังค่อม ไหล่ห่อ (kyphosis) คือ ภาวะผิดปกติของโครงสร้างร่างกายในช่วงส่วนบน นับแต่กระดูกสันหลังส่วนคอ ไปจนถึงส่วนอกและข้อไหล่ จนส่งผลให้กล้ามเนื้อรยางค์บนไม่สมดุลกัน ร่วมกับลักษณะผิดปกติ อาจเกิดปัญหาเกี่ยวกับการเคลื่อนไหวและลักษณะโครงสร้างภายนอก เช่น หลังค่อม ไหล่ห่อ บ่ายก ฯลฯ จำเป็นต้องทำกายภาพบำบัดหรือเข้ารับการรักษากับคลินิกกายภาพบำบัด เพื่อปรับท่าให้ถูกหลักการยศาสตร์ ทั้งนี้ หลังค่อม ไหล่ห่อ ไม่ใช่อาการเดียวกับออฟฟิศซินโดรมหรือหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท รวมถึงการรักษาก็แตกต่างกันด้วย

 

หลังค่อม ไหล่ห่อ เกิดจากอะไร ?

สำหรับสาเหตุ หลังค่อม ไหล่ห่อ เกิดจากอะไร โดยปกติแล้วสามารถเกิดได้จากหลากหลายสาเหตุ แต่มีอยู่ 4 สาเหตุที่คลินิกกายภาพบำบัดมักพบบ่อย ดังนี้

1) วางท่าทางไม่ถูกต้องเป็นเวลานาน

การวางท่าทางที่ไม่ถูกต้องขณะทำกิจกรรมอะไรก็ตาม เช่น แบกของหรือกระเป๋าหนักบ่อยๆ, นั่งงอหลังหรือพิงพนัก ฯลฯ เป็นเวลานานอาจส่งผลให้ส่วนประคองสันหลังเกิดความผิดปกติจนเกิดปัญหาหลังค่อม ไหล่ห่อได้ มักพบบ่อยในพนักงานออฟฟิศ ร่วมกับปัญหาออฟฟิศซินโดรมจึงจำเป็นต้องเข้ารับการทำกายภาพบำบัด โดยคลินิกกายภาพบำบัด

2) ความผิดปกติจากพื้นฐานด้านร่างกาย

ผู้มีภาวะหลังค่อม ไหล่ห่อบางรายอาจวางท่าทางได้ถูกต้องตามหลักการยศาสตร์ แต่ก็ยังเจอปัญหาเหล่านี้ ส่วนหนึ่งอาจเป็นเพราะความผิดปกติจากพื้นฐานร่างกายที่ส่งทอดผ่านทางกรรมพันธุ์ทำให้เลือดไปเลี้ยงไม่พอจนบริเวณส่วนหลังเกิดการเติบโตได้ไม่เต็มที่

3) ความผิดปกติตั้งแต่อยู่ในครรภ์มารดา

ปกติแล้วสำหรับผู้ที่มีปัญหาผิดปกติตั้งแต่ในครรภ์มารดา จะไม่สามารถรักษา หลังค่อม ไหล่ห่อจากสาเหตุนี้ได้ด้วยการกายภาพบำบัด จำเป็นต้องได้รับการผ่าตัด โดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญตั้งแต่เด็ก

4) โรคอื่นหรือปัจจัยอื่น

นอกจากนี้ อาการหลังค่อม ไหล่ห่อ ยังอาจเกิดได้จากโรคอื่นหรือปัจจัยอื่นได้ด้วย เช่น อายุมากขึ้น, อุบัติเหตุ, โรคทางพันธุรกรรม โรคเกี่ยวกับกระดูก หรือโรคกล้ามเนื้อเสื่อม ฯลฯ

 

เช็คอาการหลังค่อม ไหล่ห่อด้วยตัวเอง

สำหรับใครที่กำลังเจออาการปวดเมื่อย แต่ไม่มั่นใจว่า เกิดจากหลังค่อม ไหล่ห่อ หรือออฟฟิศซินโดรมกันแน่ สามารถเช็คอาการก่อนทำท่ากายภาพบำบัดด้วยตัวเองหรือหาคลินิกกายภาพบำบัดได้ง่ายๆ โดยสังเกตได้จากสิ่งเหล่านี้

  • หลังค่อม : ปกติแล้วกระดูกสันหลังของคนเราจะมีความโค้งนูนอยู่ที่ประมาณ 20-45 องศา รูหูตรงกับปุ่มกระดูกไหล่ กระดูกข้อสะโพก และตาตุ่ม หากยืนตัวตรงหรือนั่งยืดหลังตรงแล้วรู้สึกว่า หลังค่อมโค้งไปด้านหลังกว่า 50 องศาขึ้นไป และลากในแนวดิ่งจากรูหูลงไปเอนไปทางด้านหน้า อาจมีความผิดปกติหลังค่อม ไหล่ห่อจำเป็นต้องเข้ารับการตรวจเช็คที่คลินิกกายภาพบำบัดอีกครั้ง
  • ไหล่ห่อไปทางด้านหน้าลำตัว
  • มีอาการปวดตึง หรือเจ็บบริเวณหลัง ยิ่งองศาโค้งนูนมากเท่าไหร่ ยิ่งทำให้ปวดตึงหลังมากขึ้นเท่านั้น
  • ฯลฯ

 

5 ท่ากายภาพบำบัดแก้หลังค่อม ไหล่ห่อ

หลังจากทำความเข้าใจกันแล้วว่า หลังค่อม ไหล่ห่อ เกิดจากอะไร และเช็คด้วยตัวเองอย่างไรบ้าง ใครที่กำลังเจอปัญหานี้อยู่ มาเก็บ 5 ท่ากายภาพบำบัดแก้หลังค่อม ไหล่ห่อที่พีซ คลินิกกายภาพบำบัดนำมาฝาก ไปลองทำตามกัน

1) ท่าบีบสะบัก

ท่ากายภาพบำบัดสำหรับอาการหลังค่อม ไหล่ห่อท่าแรก เริ่มจากการยืนตัวตรง กางแขนจับมือเท้าเอว แล้วบีบสะบักเข้าหากันแล้วออกแรงเกร็งกล้ามเนื้อ เพื่อบีบสะบักเข้าหากัน แล้วคลายการเกร็งกล้ามเนื้อ จากนั้นทำแบบเดิมประมาณ 10 รอบ เท่ากับ 1 เซ็ต ทำทั้งหมด 3 เซ็ตด้วยกัน

2) ท่าประสานมือบิดแขน

สำหรับท่ากายภาพบำบัดแก้ปัญหาหลังค่อม ไหล่ห่อท่าที่สองจะเป็นท่าประสานมือบิดแขน เริ่มจากการยกแขนข้างหนึ่งขึ้นงอข้อพับแขนลงมาทำมุม 45 องศา ประสานมือกับแขนอีกฝั่งแล้วบิดแขนไปมา สลับซ้ายขวาทำ 10 ครั้งต่อเซ็ต แล้วทำซ้ำเหมือนเดิม 3 เซ็ต

3) ท่าวางศีรษะดันศอก

จากนั้นต่อกันด้วยท่ากายภาพบำบัดที่สามเป็นท่าวางศีรษะแล้วดันศอกไปด้านหลัง เริ่มจากการกางแขนออกแล้วเลื่อนมือทั้งสองข้างไปวางด้านหลังศีรษะ จากนั้นดันศอกไปด้านหลัง ทำ 10 ครั้งต่อ 1 เซ็ต และทำทั้งหมด 3 เซ็ตด้วยกัน

4) ท่านอนคว่ำดันลำตัว

ท่ากายภาพบำบัดท่านี้จะมีลักษณะคล้ายกับโยคะท่างู (Cobra) ทำได้ด้วยการนอนคว่ำจากนั้นใช้มือทั้งสองข้างดันลำตัวขึ้นแขนเหยียดตรงค้างไว้ประมาณ 20 วินาที แล้วผ่อนตัวลงวนซ้ำประมาณ 3 รอบ

5) ท่านอนหงายดันหลัง

ท่ากายภาพบำบัดท่าสุดท้ายอาจต้องเตรียมอุปกรณ์เล็กน้อย นั่นก็คือ โฟมโรลเลอร์สำหรับเล่นโยคะ เริ่มจากการนอนหงายชันเข่าทั้งสองข้าง โดยให้โฟมโรลเลอร์อยู่บริเวณกลางหลังเกือบถึงสะบัก ประสานมือทั้งสองข้างไว้ด้านหลังรองรับท้ายทอย จากนั้นดันศีรษะไปด้านหลังเล็กน้อย แล้วยกศีรษะขึ้นกลับมาในท่าผ่อนคลายทำ 10 ครั้งต่อเซ็ต ทำซ้ำทั้งหมด 3 เซ็ต

 

เพียงเท่านี้ก็จะแก้หลังค่อม ไหล่งุ้ม ปรับบุคลิกภาพดีและลดปัญหาสุขภาพที่อาจตามมาได้ไม่ยาก แต่หากยังรู้สึกปวดไม่หาย ไม่รู้จะเลือกคลินิกกายภาพบำบัด ที่ไหนดี ขอแนะนำ พีซ คลินิกกายภาพบำบัด รักษาอาการ ปวดคอ บ่า ไหล่ หลัง แขน ขา เข่า ฯลฯ จากปัญหาหลังค่อม ไหล่งุ้ม, แก้ออฟฟิศซินโดรม, หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท, อัมพฤกษ์ อัมพาต และอื่น ๆ อีกมากมาย โดย “ไม่ต้องใช้ยา…ไม่ต้องผ่าตัด” สามารถติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ LINE ID  : @peace-clinic

Facebook Post : https://www.facebook.com/Peace.PhysicalTherapy/posts/pfbid022UK8wYGPw4wow8jSProfzouLsQRmUGnzoWf8ec56qmtqfz6scCjnQALhFNtpuJrPl

 

บทความอื่นๆ