ปวดสะบัก สะบักจม อย่าปล่อยไว้เป็นอันขาด รู้เร็วแก้ไขทันที

ปัญหาการปวดสะบัก หรือมีอาการสะบักจม สามารถเกิดขึ้นได้โดยเฉพาะคนยุคใหม่ที่ต้องทำงานหน้าคอมด้วยท่าทางเดียวเป็นเวลานาน (ก้มคอ เอียงคอ) จนมีปัญหาออฟฟิศซินโดรม ปวดคอ บ่า ไหล่ ก่อนจะลุกลามมายังอาการดังกล่าว มีภาวะกระดูกคอทับเส้นประสาท กระดูกคอเสื่อม ไปจนถึงการยกของผิดท่า ยกของหนักประจำ ดังนั้นการเรียนรู้วิธีแก้ปัญหาจึงเป็นสิ่งที่ควรทำอย่างยิ่ง

สะบักจม เกิดจากอะไร ?

สะบัก คือ กระดูกที่อยู่เหนือกระดูกชายโครงจากบริเวณลำตัว 2 ข้าง ห่างจากกระดูกสันหลังประมาณ 2 นิ้ว มีลักษณะคล้ายปีก ซึ่งถือเป็นอวัยวะที่เชื่อมระหว่างลำตัวกับแขน ซึ่งคนที่มีปัญหาสะบักจม เกิดจากกล้ามเนื้อบริเวณรอบสะบักทำงานไม่สมดุล บางรายอาจมีภาวะสะบักวางตัวแบบผิดรูป นำมาซึ่งอาการปวดอันแสนทรมาน

สังเกตตนเองได้อย่างไร ? ว่ามีอาการปวดสะบัก

สำหรับอาการปวดสะบักสามารถสังเกตได้ง่าย ๆ หากบุคคลผู้นั้นมีพฤติกรรมสุ่มเสี่ยงที่อาจก่อให้เกิดโรค เช่น ทำงานในท่าเดียวนาน ๆ มีภาวะออฟฟิศซินโดรม กระดูกคอเสื่อม หรือยกของหนักบ่อยครั้ง โดยอาการที่พบเจอได้บ่อย มีดังนี้

    • ปวดบริเวณกล้ามเนื้อสะบัก 2 ข้าง หรือข้างใดข้างหนึ่ง อาจเป็นได้ทั้งรู้สึกปวดอย่างเดียว หรือมีอาการร่วมกับการปวดคอ บ่า ไหล่
    • รู้สึกร้าวแผ่ไปรอบ ๆ บริเวณสะบัก บางรายอาจร้าวลงไปที่แขน เกิดอาการชามือ ชานิ้ว
    • มีจุดที่กดลงไปแล้วรู้สึกเจ็บ บ่งบอกถึงปัญหาสะบักจม
    • ปวดร้าวลงมาถึงบริเวณหลัง ปวดตึงหน้าอก บางคนรู้สึกหายใจไม่อิ่ม
    • รู้สึกกล้ามเนื้ออ่อนแรงหรือตึงตัวผิดปกติ เคลื่อนไหวแล้วไม่สบายตัว

แก้ปัญหาปวดสะบัก สะบักจมเบื้องต้นด้วยท่ายืดสะบักที่เหมาะสม

หากคุณเป็นคนหนึ่งที่เริ่มรู้สึกว่าตนเองมีปัญหาปวดสะบัก หรือสะบักจม อย่านิ่งนอนใจเพราะอาจลุกลามไปสู่อาการที่รุนแรงมากขึ้นกว่าเดิม ดังนั้นการแก้ปัญหาเบื้องต้นจึงอยากแนะนำให้ลองทำท่าทางการยืดสะบักอย่างเหมาะสม โดยสามารถปฏิบัติได้ดังนี้

  • ท่าที่ 1 นั่งหลังตรงชิดพนักเก้าอี้ ผสานมือเข้าหากันลักษณะกำหมัดชก จากนั้นยืดสะบักไปด้านหน้าค้างไว้ราว 20 วินาที ทำแบบเดิม 5 เซต

  • ท่าที่ 2 จะยืนหรือนั่งก็ได้ แต่ต้องทำหลังให้ตรง จากนั้นผสานมือแบบหงายขึ้นด้านบน (คล้ายบิดขี้เกียจ) เหยียดและยืดสะบักขึ้นไปข้างบน ค้างไว้ราว 20 วินาที ทำแบบเดิม 5 เซต เป็นการยืดปีกสะบัก

  • ท่าที่ 3 นำมือไขว้หลังจับกันไว้ หากจะทำข้างใดให้ตามองไปที่รักแร้ฝั่งตรงข้ามและเอียงศีรษะไปในทิศดังกล่าว ค้างไว้ราว 20 วินาที สลับข้าง ทำแบบเดิม 5 เซต

  • ท่าที่ 4 ยกมือข้างที่ต้องการยืดจับไว้กับหัวไหล่ฝั่งตรงข้าม ขณะที่มืออีกครั้งก็ดึงรั้งไว้ฝั่งตรงข้ามเช่นกัน ค้างไว้ราว 20 วินาที สลับข้าง ทำแบบเดิม 5 เซต

 

นี่คืออาการปวดสะบัก และคนที่มีปัญหาสะบักจมควรรู้เอาไว้ อย่าละเลยหรือมองข้าม รวมถึงแนะนำให้ลองพบแพทย์กายภาพบำบัดเพื่อหาแนวทางรักษาที่เหมาะสม ซึ่งทาง “พีซ คลินิกกายภาพบำบัด” พร้อมให้คำปรึกษา รวมถึงรักษาอาการปวดคอ ไหล่ หลัง ออฟฟิศซินโดรม ปวดบริเวณสะบัก ไม่ต้องใช้ยา ไม่ต้องผ่าตัด เห็นผลทันใจ หายจากความเจ็บป่วยแล้วใช้ชีวิตอย่างมีความสุขในทุกวัน สนใจติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ LINE ID  : @peace-clinic

 

Facebook Post : https://www.facebook.com/Peace.PhysicalTherapy/posts/pfbid02wb3Bt1AstkP8jb6L9M3utMMLdTLzUEEqnHqXEsDJPJMXUbqpo8ViZEuL3wfva7z6l

 

บทความอื่นๆ