ออฟฟิศซินโดรม คืออะไร ? อาการเป็นแบบไหน ต้องรักษาอย่างไร

การทำงานที่แข่งขันกับเวลา ทำให้ผู้คนในยุคปัจจุบันต้องเจอกับปัญหาสุขภาพที่เรียกว่าออฟฟิศซินโดรม ซึ่งอาการของออฟฟิศซินโดรมนั้นไม่ใช่โรคร้ายแรงที่ป้องกันได้ยาก แต่เป็นปัญหาสุขภาพที่เกิดจากพฤติกรรมของเราเป็นส่วนใหญ่ วันนี้เราจะพาทุกคนไปทำความรู้จักกับออฟฟิศซินโดรม เพื่อที่จะได้รู้เท่าทัน ทั้งการป้องกัน เช็คอาการ และแนวทางการรักษาในเบื้องต้น

ออฟฟิศซินโดรม คืออะไร ?

ออฟฟิศซินโดรม (Office Syndrome) คือ กลุ่มอาการปวดกล้ามเนื้อและเยื่อพังผืด (Myofascial Pain Syndrome) ซึ่งมีสาเหตุมาจากรูปแบบการทำงานที่ใช้กล้ามเนื้อมัดเดิมซ้ำๆ เป็นระยะเวลานาน และใช้กล้ามเนื้อมัดเดิมนั้นอย่างต่อเนื่อง ทำให้เกิดอาการกล้ามเนื้ออักเสบ รวมถึงอาการปวดจากการอักเสบของเนื้อเยื่อและเอ็น (Tendinitis) อาการปวด ชา จากปลายประสาทที่ถูกกดทับ การปวดเมื่อยตามอวัยวะต่างๆ โดยเฉพาะบริเวณ คอ หลัง ไหล่ บ่า แขน หรือข้อมือ ซึ่งอาการดังกล่าวอาจลุกลามจนกลายเป็นอาการปวดเรื้อรังได้

4 ท่าเหยียดร่างกาย ทำได้ง่ายๆ ป้องกันออฟฟิศซินโดรม

 

– ท่าที่ 1 ยืดตัวในท่านั่ง

การยืดตัวในท่านั่ง ทำได้โดย นั่งในท่าขัดสมาธิ ยืดตัวให้ตรง มือสองข้างยกขึ้นเหนือศีรษะ ใช้มือขวาจับไหล่ซ้าย มือซ้ายจับข้อศอกด้านขวา ค่อยๆยืดตัวเอียงไปด้านขวา ค้างไว้ 10 วินาที จนหรือจนรู้สึกตึงบริเวณด้านสีข้าง ทำสลับกันซ้าย ขวา 5 รอบ ท่านี้จะช่วยผ่อนคลายความตึงของลำตัวได้ดี

– ท่าที่ 2 บิดตัวในท่านั่ง

การบิดตัวในท่านั่ง ทำได้โดย นั่งราบกับพื้นโดยยืดเหยียดขาทั้งสองข้างไปด้านหน้า  มือสองข้างตั้งประคองตัว บริเวณสะโพก ค่อนไปด้านหลังเล็กน้อย  ยกเข่าด้านขวาตั้งชัน โดยไขว้ไว้กับขาด้านซ้าย มือด้านซ้ายจับดันเข่าด้านขวา พร้อมบิดตัวไปทางขวา ค้างไว้ 10 วินาที สลับข้างซ้ายขวา ท่านี้จะช่วยให้เราได้ยืดทั้งลำตัว แขน ขา และหลัง รวมถึงลำตัวด้านข้างได้เป็นอย่างดี

– ท่าที่ 3 ไขว้แขนขา ยืดลำตัว

การไข้วแขน ในท่านั่งจะช่วยยืดลำตัวด้านบน ช่วยผ่อนคลายความตึงของคอ บ่า ไหล่ ทำได้โดย นั่งไข้วเท้า ให้ปลายเท้าแนบกับพื้นมากที่สุด ไขว้แขนมาด้านหน้า พยายามยกแขนที่ไขว้ไว้เหยียดขึ้นด้านบน จะเกิดความรู้สึกตึงบริเวณสะบัก คอ และบ่า

– ท่าที่ 4 หมุนตัวบนเก้าอี้

สำหรับผู้ที่ต้องนั่งหน้าจอคอมพิวเตอร์ในออฟฟิศนานๆ สามารถบริหารร่างกายโดยท่านั่งบนเก้าอี้ได้ เพียงแค่ นั่งตัวตรงโดยไม่พิงพนักเก้าอี้  บิดหมุนตัวยืดเหยียดไปด้านข้างซ้ายและขวา สลับกัน โดยมือจับพนักพิง เพื่อช่วยยืดเหยียดกล้ามเนื้อด้านข้าง และหลัง ช่วยผ่อนคลายความตึงเครียดของร่างกายได้ดี

 

ออฟฟิศซินโดรมเกิดจากอะไร ?

ออฟฟิศซินโดรม (Office Syndrome)  มักพบได้บ่อยในคนทำงานออฟฟิศ สาเหตุสำคัญมากจากพฤติกรรมในการทำงาน ทั้งทำงานหน้าคอมพิวเตอร์ หรือยืนทำงานบนรองเท้าที่ไม่เหมาะสมนานเกินไป ทั้งนี้ พอจะแบ่งสาเหตุของอาการออฟฟิศซินโดรมได้ 3 กลุ่ม ดังนี้

  • ออฟฟิศซินโดรม จากท่าทางการทำงาน (Poster) ที่ไม่ถูกต้อง เช่น ลักษณะท่านั่งทำงาน การวางมือ ศอก บนโต๊ะทำงานที่ทำให้ร่างกายเกร็งผิดปกติ
  • ออฟฟิศซินโดรม จากการบาดเจ็บของกล้ามเนื้อเนื่องจากใช้งานซ้ำ ๆ (Cumulative Trauma Disorders) และใช้ต่อเนื่องในระยะเวลาที่มากเกินไป จนทำให้ร่างกายเกิดการล้า เช่น การอักเสบของข้อมือจากการใช้เมาส์ การอักเสบของเอ็นบริเวณข้อมือ การมีพังผืดเส้นประสาทบริเวณข้อมือ
  • ออฟฟิศซินโดรมจากสิ่งแวดล้อมในการทำงานที่ไม่เหมาะสม เช่น อาการปวดล้าดวงตา จากการที่มีแสงสว่างไม่เหมาะสม การปวดคอเนื่องลักษณะโต๊ะทำงาน หน้าจอคอมพิวเตอร์ที่ต่ำหรือสูงเกินไป

อาการของออฟฟิศซินโดรม

          กลุ่มอาการออฟฟิศซินโดรม (Office Syndrome)  จะแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม หลักๆ ได้แก่

  1. อาการปวดกล้ามเนื้อและเยื่อพังผืด (Mtofascial Pain Syndrome) โดยเฉพาะปวดบริเวณคอ บ่า สะบัก อาจส่งผลทำให้เกิดอาการ วูบ เหงื่อออก ตาพร่า หูอื้อ มึนงง ชา เป็นต้น
  2. อาการอักเสบของเส้นเอ็นบริเวณข้อศอก ข้อมือ นิ้วมือ เช่น การอักเสบของเอ็นโคนนิ้วโป้ง นิ้วล็อค
  3. อาการชา จากการกดทับปลายประสาท อาการอ่อนแรงของกล้ามเนื้อ หกรุนแรงจะส่งผลให้เกิดโรคที่น่ากังวล เช่น พังผืดทับเส้นประสาทข้อมือ พังผืดทับเส้นประสาทบริเวณข้อศอก เป็นต้น

เช็คลิสต์ อาการออฟฟิศซินโดรม ที่พบได้บ่อย

  • มีอาการปวดกล้ามเนื้อเฉพาะส่วนใดส่วนหนึ่ง เช่น คอ บ่า ไหล่ สะบัก หรือไม่ ทั้งนี้มักจะเป็นอการปวดแบบกว้างๆ ที่เกิดจากการนั่งทำงานด้วยท่าทางที่ผิด ทำให้กล้ามเนื้ออักเสบ หรือปวดเมื่อย อาการนี้มักพบในผู้ที่นั่งทำงานหน้าคอมพิวเตอร์ในท่าเดิมนานๆ
  • มีอาการปวดหลังเรื้อรัง ซึ่งเป็นอาการที่พบบ่อยในผู้ป่วยโรคออฟฟิศซินโดรม ที่นั่งทำงานนานๆ โดยนั่งไม่ถูกท่า หลังค่อม อาจทำให้กล้ามเนื้อต้นคอเกร็งอยู่ตลอด หรืออาจจะเกิดกับผู้ที่ต้องยืนทำงานโดยใส่รองเท้าส้นสูงนานๆ
  • มีอาการปวดตึงที่ขาหรือเหน็บชา อาการชานั้น อาจเกิดจากการนั่งนานๆ ในท่าเดิม ทำให้เส้นเลือดดำถูกกดทับ และส่งผลให้เลือดไหลเวียนผิดปกติ
  • มือชา นิ้วล็อค ปวดข้อมือ เพราะการใช้คอมพิวเตอร์จับเมาส์ในท่าเดิมๆ นาน ทำให้กล้ามเนื้อกดทับเส้นประสาทและเส้นเอ็นจนอักเสบ เกิดพังผืดทำให้ปวดปลายประสาท นิ้วหรือข้อมือล็อคได้
  • มีอาการปวดศีรษะเรื้อรัง ปวดหัวไมเกรน ซึ่งมีสาเหตุมาจากความเครียดหรือการที่ใช้สายตาเป็นระยะเวลานาน
  • ปวดตา ตาพร่า การมองภาพเบลอ เป็นอาการที่เกิดจากการใช้สายตาที่หนักและเป็นเวลา โดยเฉพาะการใช้สายตากับการมองหน้าจอคอมพิวเตอร์ หรือสมาร์ทโฟน

การรักษาอาการออฟฟิศซินโดรม

          เนื่องจากสาเหตุหลักของอาการออฟฟิศซินโดรม มาจากพฤติกรรมการนั่งทำงาน ที่ไม่เหมาะสม ดังนั้น วิธีในการรักษาที่ดีที่สุดและให้ผลยั่งยืนจึงเป็นการปรับพฤติกรรมการทำงาน การปรับสภาพแวดล้อมในการทำงาน การทำกายภาพบำบัด ร่วมกับการด้วยยา และการรักษาด้วยวิธีทางเลือกอื่นๆ เช่น การฝังเข็ม การนวดแผนไทย เป็นต้น ทั้งนี้ หากเรามีอาการออฟฟิศซินโดรมในเบื้องต้น หรือมีความเสี่ยงในการเกิดโรคออฟฟิศซินโดรม สามารถใช้การยืดเหยียดร่างกายเพื่อป้องกัน และบรรเทาอาการได้

ออฟฟิศซินโดรม (Office Syndrome) นั้น ในระยะแรกมักมีอาการไม่รุนแรง ผู้ป่วยอาจจะรู้สึกปวดเมื่อย ไม่สบายตัวและมักละเลยที่จะรักษา ทำให้เกิดการบาดเจ็บที่ต่อเยื่องยาวนาน จนเกิดการสะสมเป็นโรคที่รุนแรงขึ้น เช่น  กล้ามเนื้ออักเสบเรื้อรัง (myofascial pain syndrome)เอ็นรัดข้อมืออักเสบกดทับเส้นประสาท (carpal tunnel syndrome) ความผิดปกติของความตึงตัวของเส้นประสาท (nerve tension) นิ้วล็อก (trigger finger) เป็นต้น ดังนั้น ผู้ที่มีอาการออฟฟิศซินโดรม หากพบว่ากายภาพบำบัดด้วยตนเองแล้วไม่ดีขึ้น ควรมาปรึกษาพบแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัยหาสาเหตุของอาการ และรับการรักษาที่ถูกต้องเหมาะสมต่อไป

ดังนั้น ผู้ที่มีอาการออฟฟิศซินโดรม หากพบว่ายืดด้วยตนเองแล้วไม่ดีขึ้น ควรปรึกษาพบแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัยหาสาเหตุของอาการ หรือปรึกษานักกายภาพบำบัดได้ที่ พีซ คลินิกกายภาพบำบัด ที่นี่เรามีนักกายภาพบำบัดมืออาชีพที่เชี่ยวชาญในการดูแล และรักษาอาการออฟฟิศซินโดรม บ่าตึง ปวดหลัง ปวดไหล่ ปัญหาระบบกล้ามเนื้อ-กระดูก-เส้นประสาท และอื่นๆ เน้นการรักษาหาย เห็นผลไว ไม่เลี้ยงไข้ ไม่ใช้ยา ไม่ผ่าตัด สนใจติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ LINE ID  : @peace-clinic

 

Facebook Post : https://www.facebook.com/Peace.PhysicalTherapy/posts/pfbid0KTJfAb5XE4LgBDHfzaYDw3RaBMnr56TXJ1gdW5T8cdjwUhDJHFBhgavbfuNBoQpSl

 

บทความอื่นๆ